สีปัสสาวะบอกโรค?

สีปัสสาวะบอกโรค, เบาหวาน, โรคเบาหวาน, goodbody4u, นิชาภา

สีปัสสาวะบอกโรค?

ปัสสาวะ คือของเสียที่ไตกรองออกมาจากเลือด สามารถช่วยบอกโรคได้หลายชนิด เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคตับ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ 

📌 ปัสสาวะสีเหลือง หรือใส 👉 ปัสสาวะปกติ

📌 ปัสสาวะสีดำ 👉 อาจเกิดจากปัญหาที่เม็ดเลือดแตก

📌 ปัสสาวะมีน้ำตาลออกมาด้วย 👉 มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

📌 ปัสสาวะมีไข่ขาวเป็นฟองมากออกมา 👉 มีความเสี่ยงเป็นโรคไต

📌 ปัสสาวะทิ้งไว้เห็นเป็นตะกอนสีชมพูอ่อน 👉 อาจมีกรดยูริคมาก มีความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์

📌 ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม เหมือนน้ำชา 👉 เกิดจากการดื่มน้ำน้อย

📌 ปัสสาวะมีสีเหลืองมากเหมือนขมิ้น 👉 ตับอาจเกิดปัญหา

📌 ปัสสาวะมีสีขุ่นแสบขัด 👉 แสดงว่าร่างกายอาจเกิดการติดเชื้อ

📌 ปัสสาวะเป็นเลือด 👉 อาจมีอาการนิ่ว ไตอักเสบ หรือมะเร็งได้
.
.
#สีปัสสาวะบอกโรค #ปัสสาวะบอกโรค
#สุขภาพดีทำอะไรก็ดี
#สุขภาพแย่ทำอะไรก็แย่
#goodbody4uส่งมอบสุขภาพดีให้คุณถึงบ้าน
#goodbody4u

โรคอันตรายถ้าแปรงฟันไม่สะอาดพอ



โรคฝีในสมอง, โรคเบาหวาน, ติดเชื้อทางเดินหายใจ, goodbody4u, นิชาภา

โรคอันตรายถ้าแปรงฟันไม่สะอาดพอ

1. โรคหัวใจ
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า หากมีอาการฟันผุจนลามไปถึงเหงือกอักเสบ มีโอกาสที่เชื้อโรคในเหงือกที่อักเสบอยู่อาจเข้าสู่กระแสเลือดได้ อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว เลือดไหลเวียนไปที่หัวใจไม่สะดวก หรืออาจทำให้ผนังหลอดเลือดหัวใจอักเสบ จนอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้

2. โรคฝีในสมอง
เมื่อสุขภาพในช่องปากไม่ดีพอ จนเกิดการสะสมของแบคทีเรียชนิดที่ไม่ดีต่างๆ แล้วเราก็กลืนเข้าไปในร่างกาย จนเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การทำให้เชื้อโรคบางชนิดขึ้นไปสะสมตัวอยู่ในสมอง จนกลายเป็นโรคร้ายแรงในสมอง เช่น โรคฝีในสมองได้

3. ติดเชื้อทางเดินหายใจ
หากสำลักเอาน้ำลาย ที่เต็มไปด้วยแบคทีเรียที่ก่อโรคเข้าไปในปอด อาจทำให้ปอดติดเชื้อได้ นอกจากนี้ระบบทางเดินหายใจใกล้เคียง อาจเสี่ยงติดเชื้อไปด้วยเช่นกัน จนเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม ปอดอักเสบ หรือหอบหืด

4. โรคเบาหวาน
หากฟันผุหนักๆ จนติดเชื้อ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับอินซูลินน้อยลง เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน หรือทำให้คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วมีอาการรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้อาการฟันผุ เหงือกอักเสบ ก็จะมีความรุนแรง และหายยากกว่าคนปกติอีกด้วย

5. ภาวะคลอดบุตรก่อนกำหนด
หากเป็นสตรีมีครรภ์ เชื้อโรคที่อยู่ในช่องปากของคุณแม่ อาจแพร่กระจายในร่างกาย จนทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ปกติได้ โดยเฉพาะโรคปริทันต์อักเสบ (หรือรำมะนาด) เป็นโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกอย่างรุนแรง จนทำลายกระดูกรองฟัน จนเกิดเป็นร่องเหงือกลึก และเป็นแหล่งสะสมของคราบจุลินทรีย์ และแบคทีเรียทีก่อให้เกิดโรคได้มากมาย

เพราะฉะนั้น อย่าละเลยการแปรงฟันให้สะอาดทุกครั้ง อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2-3 นาที ระหว่างวันอาจแปรงฟันเพิ่มได้ หรือหากใช้ไหมขัดฟันหลังทานอาหาร และน้ำยาบ้วนปาก ก็จะช่วยลดเศษอาหาร แหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียได้ดี

#5โรคอันตรายถ้าแปรงฟันไม่สะอาด
#แปรงฟันไม่สะอาด
#สุขภาพดีทำอะไรก็ดี
#สุขภาพแย่ทำอะไรก็แย่
#goodbody4uส่งมอบสุขภาพดีให้คุณถึงบ้าน
#goodbody4u

ขมิ้นชัน

อาหารไม่ย่อย, กระเพาะอักเสบ ,ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ,ท้องอืด, goodbody4u, นิชาภา

ขมิ้นชัน

👉 ลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย
👉 ช่วยลดการสะสมไขมันที่ตับ
👉 แก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
👉 รักษาโรคลำไส้อักเสบ
👉 รักษาโรคกระเพาะอาหาร
👉 สมานแผลในกระเพาะอาหาร และทำความสะอาดลำไส้

#ขมิ้นชัน
#สุขภาพดีทำอะไรก็ดี
#สุขภาพแย่ทำอะไรก็แย่
#goodbody4uส่งมอบสุขภาพดีให้คุณถึงบ้าน
#goodbody4

5 โรคเสี่ยงหาก "กลางวันง่วง กลางคืนตาสว่าง"

มะเร็งลำไส้, เบาหวาน, ฮอร์โมนผิดปกติ, goodbody4u, นิชาภา

5 โรคเสี่ยงหาก "กลางวันง่วง กลางคืนตาสว่าง"

1. โรคนอนไม่หลับ
แน่นอนอยู่แล้วว่าการไม่นอนตอนกลางคืน เป็นต้นกำเนิดของปัญหานอนไม่หลับในระยะต่อมา เพราะเมื่อร่างกายเริ่มคุ้นชินกับการไม่นอนตอนกลางคืนนานวันเข้า ก็จะทำให้นาฬิกาชีวิตรวน แทนที่จะได้พักผ่อนตอนกลางคืน และตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นแจ่มใส พร้อมทำงานในวันรุ่งขึ้น กลับไม่ได้นอน แล้วต้องมานั่งทำงานในตอนกลางวันแทน นานๆ ครั้งไม่เป็นไร แต่หากเป็นแบบนี้บ่อยๆ โรคนอนไม่หลับถามหาแน่นอน

2. โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
ใครที่ทำงานตอนกลางคืน แล้วยังหาอะไรมาทานช่วงดึกไปด้วย ยิ่งทำให้กระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ ต้องมาย่อยอาหารในเวลาที่สมควรจะได้พักผ่อน ยิ่งช่วงไหนทำงานไม่ตรงเวลา นอนไม่ตรงเวลา กินบ้างไม่กินบ้าง น้ำย่อยออกมาบ้าง ไม่ออกมาบ้าง ระบบย่อยในกระเพาะอาหารรวนแน่นอน คราวนี้ทานอาหารปุ๊บ อาหารอาจจะไม่ย่อยเพราะน้ำย่อยไม่ออกมาทำงาน หรือบางครั้งน้ำย่อยออกมาแล้ว แต่ไม่มีอาหาร ก็กัดกระเพาะกันไปอีก เขาถึงบอกว่าการทานอาหารให้ตรงเวลาเป็นเรื่องสำคัญ

3. โรคมะเร็งลำไส้
สืบเนื่องมาจากข้อที่แล้ว เมื่อระบบการลำเลียงอาหาร การย่อยอาหารผิดปกติ ก็อาจส่งผลให้การทำงานลำไส้ผิดปกติไปด้วย เป็นเหตุให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ได้หลายโรค ไม่ว่าจะเป็นลำไส้อักเสบ หรือมะเร็งลำไส้ได้

4. โรคเบาหวาน
เมื่อกลางคืนตาสว่างนั่งปั่นงาน แต่ตอนกลางวันง่วงซึม ไม่ร่าเริงสดใส จึงขาดการดูแลเอาใจใส่ร่างกาย ทั้งเรื่องการเลือกทานอาหารที่มีคุณประโยชน์ และการเผาผลาญพลังงานด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะฉะนั้นใครที่ซ้ำร้ายยังติดแป้ง ติดน้ำตาล ติดเครื่องดื่มหวานๆ ก็อาจมีสิทธิ์ได้โรคเบาหวานเป็นของแถมอีกต่างหาก

5. ฮอร์โมนผิดปกติ
เมื่อฮอร์โมนที่เป็นตัวรักษาสมดุลของร่างกายในทุกด้านทำงานผิดปกติ จะทำให้คุณกลายเป็นคนอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เดี๋ยวซึมเศร้า เดี๋ยวเหวี่ยงวีน นอกจากนี้ยังอาการอื่นๆ อีกมากมายที่มาจากฮอร์โมนผิดปกติ เช่น รอบเดือนเดี๋ยวมาเดี๋ยวขาด เสี่ยงเป็นซีสต์ที่หน้าอกหรือรังไข่ หรือมีอาการต่อมน้ำเหลืองทำงานผิดปกติ เป็นต้น

😄วิธีปรับเวลานอนให้เป็นปกติ นอนกลางคืน ทำงานกลางวัน
● เข้านอนแต่หัวค่ำ ทำใจให้สบาย อาจนั่งสมาธิ ดื่มนมอุ่นๆ แก้วเล็กๆ ฟังบทสวดธรรมมะ หรือฟังเพลงช้าๆ เบาๆ ปิดไฟนอน เพิ่มกลิ่นอโรมาในห้องนอนที่ทำให้จิตใจผ่อนคลาย

● ตื่นนอนตอนเช้าเวลาเดิมๆ อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะรู้สึกง่วงมากแค่ไหนก็ตาม หากได้ตื่นเวลาเดิมๆ เป็นประจำ จะทำให้ร่างกายมีความคุ้นชินกับนาฬิกาชีวิตใหม่ และจะค่อยๆ ปรับให้เป็นปกติได้อย่างช้าๆ

● หลีกเลี่ยงการทำงานผิดเวลาเป็นเวลานานๆ ควรรู้จักแบ่งสรรจัดเวลาในการทำงาน ทานข้าว และพักผ่อนให้เป็นเวลาตามปกติ ไม่ล้ำเส้นกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง

● หากง่วงนอนในตอนกลางวัน ไม่ควรนอน เพราะจะทำให้ตอนกลางคืนไม่ง่วงตามที่ควรจะเป็น แต่หากง่วงนอนมากๆ ควรใช้วิธีงีบหลับสั้นๆ ไม่เกิน 30 นาทีเท่านั้น

#5โรคเสี่ยงหากกลางวันง่วงกลางคืนตาสว่าง
#สุขภาพดีทำอะไรก็ดี
#สุขภาพแย่ทำอะไรก็แย่
#goodbody4uส่งมอบสุขภาพดีให้คุณถึงบ้าน
#goodbody4u

5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการ "ดีท็อกซ์ลำไส้"

ดีท็อกซ์ลำไส้, ยาระบาย, ลำไส้, ลำไส้อักเสบ, goodbody4u, นิชาภา

5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการ "ดีท็อกซ์ลำไส้"

1. ดีท็อกซ์ช่วยลดไขมัน
หลายสูตรหลายวิธีเน้นการทำดีท็อกซ์ด้วยการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย โดยเฉพาะการถ่ายอุจจาระ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกตัวเบา  แต่ในความจริงแล้ว การขับถ่ายมีเพียงอุจจาระ และน้ำเท่านั้น แต่ร่างกายไม่ได้เผาผลาญไขมันส่วนเกินออกไปเลย  บางกรณีผู้ขับถ่ายอาจเสียเกลือแร่ และวิตามินจากการขับถ่ายจำนวนมากจนเกิดปัญหาสุขภาพตามมา

 2. เครื่องดื่มยอดฮิตคือทางลัดของการทำดีท็อกซ์ 
สุขภาพดีไม่มีทางลัด การทำดีท็อกซ์ก็เช่นกัน การซื้ออาหารเสริม หรือเครื่องดื่มดีท็อกซ์ที่ขายตามท้องตลาด ควรอ่านข้อมูลให้ครบ ดูส่วนผสม และดูว่า มีอย.หรือไม่ 

3. น้ำหมักช่วยขับของเสีย 
การนำผัก และผลไม้มาหมักเพื่อให้เกิดน้ำหมักใช้ดื่มเพื่อล้างพิษ อาจเสี่ยงสารพิษตกค้างในกรณีที่ล้างทำความสะอาดไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะเมื่อนำไปหมักด้วยวิธีต่างๆ ที่ไม่ได้มาตรฐาน เสี่ยงต่อการปนเปื้อนระหว่างการหมัก ทั้งจากภาชนะและวัตถุดิบ รวมถึงมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ง่าย ส่งผลให้ท้องเสีย หรือมีผลต่อระบบทางเดินอาหารในระยะยาวได้

4. ยาระบาย ทดแทนดีท็อกซ์ 
ยาระบาย มีฤทธิ์ช่วยดึงน้ำออกจากผนังลำไส้ ส่งผลให้เนื้ออุจจาระนิ่ม และขับถ่ายออกได้ง่าย โดยที่ยาระบายไม่สามารถชะล้างสารพิษ หรือคราบตะกรันที่สะสมตามผนังลำไส้ได้

5. ดีท็อกซ์เองที่บ้านก็ได้ 
การสวนลำไส้เองที่บ้านอาจเสี่ยงต่อเชื้อโรคและสิ่งปนเปื้อน เสี่ยงต่อความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำดีท็อกซ์ 

ตามธรรมชาติ ร่างกายมนุษย์มีกลไกกำจัดสารพิษโดยผ่านการทำลายที่ตับและการขับออกที่ไต  ดังนั้นการดีท็อกซ์ล้างลำไส้จึงไม่มีความจำเป็น ทั้งนี้หากอาหารที่รับประทานเข้าไปมีสารพิษปนเปื้อนร่างกายจะดูดซึมไปยังลำไส้เล็กพร้อมกับสารอาหารและวิตามินอื่นๆ ส่วนที่ตกค้างในลำไส้ใหญ่เป็นเพียงกากอาหารที่ไม่ถูกย่อยหรือดูดซึมแล้ว

อย่างไรก็ตาม หากกลัวว่าร่างกายจะมีสารพิษตกค้าง  ควรเริ่มใส่ใจการลดสารพิษตั้งแต่ต้นทาง โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไขมันต่ำ และลดการนำสารพิษเข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหารปนเปื้อน หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารปิ้งย่าง และอาหารทอด โดยเฉพาะอาหารที่ทอดด้วยน้ำมันใช้ซ้ำหลายๆ ครั้ง

#5ความเชื่อผิดเกี่ยวกับการดีท็อกซ์ลำไส้
#สุขภาพดีทำอะไรก็ดี
#สุขภาพแย่ทำอะไรก็แย่
#goodbody4uส่งมอบสุขภาพดีให้คุณถึงบ้าน
#goodbody4u