จุกลิ้นปี่...สัญญาณบอกโรคอะไร?

อาหารไม่ย่อย, กระเพาะอักเสบ ,ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ,ท้องอืด, goodbody4u, นิชาภา

จุกลิ้นปี่...สัญญาณบอกโรคอะไร?
.
.
1. โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น
จุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือบริเวณหน้าท้องช่วงบน มักจะปวดเป็นๆ หายๆ มีช่วงระยะเวลาที่ไม่มีอาการอยู่พักหนึ่ง แล้วกลับมาเป็นอีกได้ แต่ถ้าจุกแน่นลิ้นปี่เวลาทานอาหาร หรือหลังอาหาร พร้อมๆ กับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน คุณอาจเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเฉียบพลันได้

2. โรคกรดไหลย้อน
หากมีอาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก ลิ้นปี่ แสบหน้าอก เหมือนอาหารไม่ย่อย รู้สึกเหมือนมีก้อนจุกอยู่ในลำคอ เสียงแหบ และที่สำคัญคือ มีน้ำรสเปรี้ยวๆ ขมๆ ไหลย้อนขึ้นมาในปาก นี่คืออาการของ "โรคกรดไหลย้อน" มักแสดงอาการหลังทานอาหารอิ่มมากๆ หรือนอนราบหลังทานข้าวเสร็จใหม่ๆ หากเป็นโรคกรดไหลย้อน ต้องรีบรักษา เพราะหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจส่งผลให้หลอดอาหารอักเสบ หรือถ้ารุนแรงกว่านั้น ก็เป็นมะเร็งหลอดอาหารได้เลยทีเดียว

3.มะเร็งหลอดอาหาร หรือมะเร็งกระเพาะอาหาร
โรคนี้จะแสดงอาการจุกแน่นลิ้นปี่ กลืนอาหารลำบาก อาเจียนบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ซึ่งถ้าหากเกิดอาการแสดงอย่างนี้ ต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดเพื่อจะได้รักษาได้ถูกวิธี

4. นิ่วในถุงน้ำดี
อาการจุกลิ้นปี่ ก็เกี่ยวข้องกับ "นิ่วในถุงน้ำดี" ได้ด้วยนั่นเพราะหากมีก้อนนิ่วมาอุดตันตรงบริเวณท่อน้ำดี จะทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงมาก ปวดแบบบิดเกร็งตรงบริเวณใต้ชายโครงขวา และลิ้นปี่ ซึ่งอาการนี้มักจะเกิดหลังทานอาหารมันๆ หรือทานอาหารกลางดึก โดยจะปวดนาน 15-30 นาที หรือในบางรายถึงขั้น 2-6 ชั่วโมงได้เลย และจะทุเลาไปเอง และนานๆ จะปวดสักครั้ง ไม่ได้ปวดทุกวัน

5. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ โรคหัวใจขาดเลือด
เชื่อไหมว่า อาการจุกลิ้นปี่ก็เป็นสัญญาณบอกถึง "โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ" ได้เช่นกัน โดยอาการสำคัญคือจะปวดลิ้นปี่ และร้าวขึ้นไปถึงไหล่ซ้าย ต้นแขน คอ ขากรรไกรนาน 2-5 นาที มักแสดงอาการหลังออกกำลังกาย ใช้แรง เครียด หรือหลังสูบบุหรี่ แต่อาการจะดีขึ้นหากได้หยุดพัก หรืออมยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ บางคนอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่เหมือนอาหารไม่ย่อย มีอาการใจสั่น หอบเหนื่อยร่วมด้วย
กลุ่มเสี่ยงคือ คนอ้วน คนที่เป็นเบาหวาน ผู้ที่อายุมากกว่า 40-50 ปี ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง มีไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่จัด เป็นต้น

6. โรคตับ 
ไม่ว่าจะเป็นตับอักเสบ หรือตับแข็ง อาจเกิดอาการจุกแน่นตรงลิ้นปี่ และใต้ชายโครงขวาได้ โดยมากจะมีอาการดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย
.
.
#กรดไหลย้อน #โรคกรดไหลย้อน #โรคกระเพาะ #โรคกระเพาะอาหาร#กระเพาะอักเสบเรื้อรัง #จุกเสียดแน่น #ท้องอืด #อาหารไม่ย่อย #เรอเปรี้ยว #แสบร้อนกลางอก #จุกคอ #กลืนลำบาก

10 ประโยชน์ดีๆ จาก "ตะไคร้"

อาหารไม่ย่อย, กระเพาะอักเสบ ,ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ,ท้องอืด, goodbody4u, นิชาภา

10 ประโยชน์ดีๆ จาก "ตะไคร้"
.
.
1. ช่วยแก้กระหายน้ำได้ โดยสามารถนำตะไคร้ไปต้มกับน้ำ และอาจเติมน้ำตาลเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความรสชาติ และความสดชื่นได้

2. ช่วยบำรุงรักษาสายตา ให้ดวงตามีสุขภาพดี สดใสอยู่เสมอ

3. ช่วยบำรุงสมองให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มสมาธิ วัยเรียน และวัยทำงานจะจิบไปด้วย อ่านหนังสือ หรือทำงานไปด้วยก็ได้

4. ช่วยในการนอนหลับ ทำให้สมองผ่อนคลายจากความตึงเครียด นอนหลับพักผ่อนได้ง่ายขึ้น

5. เป็นส่วนผสมของยาทา ยาฉีด เพื่อไล่แมลงได้ดี และปลอดภัยจากสารเคมี

6. ช่วยดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์อื่นๆ ในการประกอบอาหารได้ดี

7. เป็นส่วนผสมของยานวด ที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อได้


9. บรรเทาอาการหวัด โดยเฉพาะอาการไอได้

"กลิ่นปาก" บ่งบอกโรคได้?

อาหารไม่ย่อย, กระเพาะอักเสบ ,ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ,ท้องอืด, goodbody4u, นิชาภา

"กลิ่นปาก" บ่งบอกโรคได้?
.
.
💥 โรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน
เริ่มตั้งแต่จมูก คอ ไปจนถึงหลอดลม เช่น โรคโพรงจมูกอักเสบ หรือไซนัสอักเสบ ซึ่งเกิดจากมีของเหลว หรือหนองขังอยู่ในโพรงอากาศของกระดูกใบหน้า จนเกิดการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นปาก และลมหายใจที่เหม็นได้

💥 โรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง
อย่างโรคปอด ผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง วัณโรค หรือมะเร็งที่ปอด มักจะมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ปะปนออกมากับลมหายใจ และลมปากได้เช่นกัน

💥 โรคทอนซิลอักเสบ
ในขณะที่มีอาการเจ็บคอ อักเสบในลำคอ หรือเจ็บทอนซิล ทอนซิลอักเสบ ก็ส่งผลให้มีกลิ่นปาก และกลิ่นลมหายใจได้ โดยกลิ่นดังกล่าวจะหายไปต่อเมื่ออาการเจ็บป่วยหายนั่นเอง

💥 โรคที่เกิดจากระบบย่อยอาหาร
อาจเกิดได้จากหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีหนอง อาจมีกลิ่นออกมาขณะพูด หรือเรอได้ นอกจากนี้แล้วคนที่มีระบบย่อยอาหารไม่ดี อาหารไม่ย่อย ระบบขับถ่ายไม่ดี ท้องผูกบ่อยๆ ก็เป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นปากได้เช่นกัน

ซึ่งนอกจากโรคเหล่านี้แล้วกลิ่นปาก และกลิ่นลมหายใจที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากโรคอื่นๆ ที่ส่งกลิ่นออกมาเพื่อแสดงอาการของโรคได้ เช่น โรคตับ โรคไต และโรคเบาหวาน เป็นต้น
.
.
#กลิ่นปากบ่งบอกโรคได้
#สุขภาพดีทำอะไรก็ดี
#สุขภาพแย่ทำอะไรก็แย่
#goodbody4uส่งมอบสุขภาพดีให้คุณถึงบ้าน
#goodbody4u

"ขมิ้นขาว" สรรพคุณเป็นยา...แถมรสชาติดี

อาหารไม่ย่อย, กระเพาะอักเสบ ,ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ,ท้องอืด, goodbody4u, นิชาภา

"ขมิ้นขาว" สรรพคุณเป็นยา...แถมรสชาติดี
.
.
สรรพคุณของขมิ้นชันมีดีที่ช่วยลดการอักเสบ ช่วยย่อย ส่วนสรรพคุณของ"ขมิ้นขาว"ดียังไงบ้าง?
1. ช่วยย่อยอาหาร 
เหง้าอ่อนของขมิ้นขาวมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย และมีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร สามารถกินเหง้าอ่อนสดๆ แกล้มกับอาหาร จิ้มกับน้ำพริก หรือนำเหง้าอ่อนไปต้มเป็นชาแล้วดื่มแก้แน่นท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อยก็ได้

2. ขับลม 
สรรพคุณอีกอย่างของขมิ้นขาวก็ คือช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะหากกินเหง้าอ่อนของขมิ้นขาวสดๆ จะช่วยในการขับลมได้เป็นอย่างดี

3. ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง
เนื่องจากขมิ้นขาวมีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร จึงมีส่วนช่วยลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง เนื่องจากกรดเกินในกระเพาะ หรืออาหารไม่ย่อยได้

4. รักษาแผลในลำไส้
สารเคอร์คูมินในขมิ้นขาวมีฤทธิ์รักษาแผลในลำไส้ ทั้งยังช่วยระงับอาการติดเชื้อหนองได้ดีอีกด้วย

5. บรรเทาอาการคลื่นไส้
กลิ่นหอมอ่อนๆ ของเหง้าขมิ้นขาวเป็นน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยให้รู้สึกสดชื่น แก้วิงเวียน บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

6. ช่วยให้เจริญอาหาร
ใครที่เบื่ออาหาร ไม่ค่อยอยากรับประทานอะไรเท่าไร ลองกินเหง้าอ่อนขมิ้นขาวสักนิด หรือดมกลิ่นจากเหง้าของขมิ้นขาวก็จะช่วยกระตุ้นความอยากอาหารขึ้นมาได้

7. รักษาโรคผิวหนัง
โดยเฉพาะปัญหาผิวหนังจากการติดเชื้อ แผลเป็นหนอง สารเคอร์คูมินในขมิ้นขาวจะช่วยจัดการระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคให้ โดยให้นำเหง้าขมิ้นขาวตากแห้งแล้วนำมาต้มน้ำอาบ หรือจะตำเหง้าสดขมิ้นขาวให้พอแหลกแล้วมาพอกบริเวณแผลก็ได้เช่นกัน

8. ขับปัสสาวะ
ขมิ้นขาวจัดเป็นสมุนไพรขับปัสสาวะอีกชนิดหนึ่ง และยังมีดีที่ช่วยลดการอักเสบติดเชื้อในร่างกายได้ ใครที่มีภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ลองศึกษาข้อมูลของขมิ้นขาวไว้บ้างก็ดี

9. ขับน้ำนมแม่ลูกอ่อน
ไม่ใช่แค่หัวปลีเท่านั้นที่เป็นอาหารขับน้ำนม แต่ขมิ้นขาวก็มีสรรพคุณช่วยขับน้ำนมให้คุณแม่ลูกอ่อนได้ไม่แพ้กัน

10. กระตุ้นการหลั่งน้ำดี
สารเคอร์คูมิน และน้ำมันหอมระเหยที่มีอยู่ในขมิ้นขาวมีส่วนช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี มีสรรพคุณรักษานิ่วในถุงน้ำดี และลดการอักเสบของบาดแผล

ขมิ้นขาว ทำอาหารอะไรได้บ้าง
เหง้าของขมิ้นขาวสามารถรับประทานสดๆ เป็นเครื่องเคียง หรือจะนำเหง้าอ่อนมาเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทำยำขมิ้นขาว ทำแกงขมิ้น หรือกินกับน้ำบูดูก็อร่อย
.
.
#ขมิ้นขาวสรรพคุณเป็นยาแถมรสชาติดี
#สุขภาพดีทำอะไรก็ดี
#สุขภาพแย่ทำอะไรก็แย่
#goodbody4uส่งมอบสุขภาพดีให้คุณถึงบ้าน
#goodbody4u

"เจ็บหน้าอก" สัญญาณอันตรายของหลายโรคร้าย

อาหารไม่ย่อย, กระเพาะอักเสบ ,ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ,ท้องอืด, goodbody4u, นิชาภา

"เจ็บหน้าอก" สัญญาณอันตรายของหลายโรคร้าย
.
.
อาการเจ็บหน้าอกอาจเกิดขึ้นได้บริเวณตั้งแต่ลำคอ เรื่อยไปจนถึงหน้าท้องส่วนบน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ ความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอกมีหลายระดับ คุณอาจรู้สึกเจ็บแปลบ ปวดตื้อๆ แสบร้อน หากเกิดอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่สามารถอธิบายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง...เกิดอาการเฉียบพลัน และอาการไม่หายไป แม้จะใช้ยาระงับอาการหรือปรับพฤติกรรมแล้วก็ตาม ในกรณีที่อาการเจ็บหน้าอกเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ ควรรีบโทรแจ้งเหตุฉุกเฉินทันที
● เกิดอาการแน่นหน้าอก หรือรู้สึกเหมือนถูกบีบบริเวณใต้กระดูกหน้าอก

● เกิดปัญหาที่กราม แขนข้างซ้าย หรือหลังจากอาการเจ็บหน้าอก

● เกิดอาการเจ็บแปลบที่หน้าอกพร้อมกับหายใจถี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานาน

● เจ็บหน้าอกพร้อมกับอาการคลื่นไส้ อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นหรือหายใจถี่ มึนงง หน้าซีด เหงื่อออกมากผิดปกติ

● ความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรง หรืออัตราการเต้นของหัวใจต่ำมาก

สาเหตุของอาการเจ็บหน้าอก
1. โรคหัวใจ
โรคที่เกี่ยวกับหัวใจหลายโรคเป็นสาเหตุที่พบกันบ่อยของอาการเจ็บหน้าอก โรคหลอดเลือดหัวใจ สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกแบบปวดเค้น อาการเจ็บหน้าอกประเภทนี้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหัวใจได้รับเลือดไม่เพียงพอ อาจกระจายไปสู่การเจ็บแขน ไหล่ กราม หรือหลังได้ ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการหัวใจวาย เมื่ออายุมากขึ้น นอกจากนี้อาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุจากการขาดเลือด โรคเกี่ยวกับหัวใจอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจโต ลิ้นหัวใจยาว และหลอดเลือดหัวใจฉีก

2. โรคปอด
อาการเจ็บหน้าอกหลายอย่าง อาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับปอด ผู้ป่วยเยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือมีการอักเสบเกิดขึ้นบริเวณเยื่อหุ้มปอดและหน้าอก จะรู้สึกเจ็บแปลบขณะหายใจ ไอ หรือจาม โรคทางปอดอีกหนึ่งชนิดที่ทำให้เเกิดอาการเจ็บหน้าอกคือ โรคปอดบวม หรือฝีในปอด การติดเชื้อทางปอดเหล่านี้ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกที่แตกต่างกันออกไป เช่น เจ็บปวดแบบลึกๆ หรือทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มปอดอักเสบ โรคทางปอดอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ได้แก่ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอด ภาวะปอดรั่ว ภาวะความดันหลอดเลือดแดงปอดสูง และ หอบหืด

3. โรคเกี่ยวกับกระดูก กล้ามเนื้อ และประสาท
อาการเจ็บที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณหน้าอก อาจมีสาเหตุมากจากการออกกำลังกายที่หักโหม หรือมากเกินไป หรือจากการหกล้ม หรืออุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่หน้าอก การปวดบริเวณข้อต่อกระดูกหน้าอก เจ็บซี่โครง กล้ามเนื้อฉีกขาด และโรคงูสวัด เป็นปัญหาที่นำไปสู่อาการเจ็บหน้าอกได้

4. โรคระบบทางเดินอาหาร
ภาวะไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหาร เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกหรือภายในลำคอ ที่รู้จักกันดีในชื่อ กรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหารอื่นๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสบร้อนกลางอก ได้แก่ อาการกลืนอาหารลำบาก ภาวะหลอดอาหารมีความไวเกินต่อสิ่งกระตุ้น หลอดอาหารทะลุหรือลำไส้ทะลุ แผลในทางเดินอาหาร โรคไส้เลื่อนกระบังลม และโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี
.
.
#เจ็บหน้าอกสัญญาณอันตรายของหลายโรคร้าย
#สุขภาพดีทำอะไรก็ดี
#สุขภาพแย่ทำอะไรก็แย่
#goodbody4uส่งมอบสุขภาพดีให้คุณถึงบ้าน
#goodbody4u

ปราบกรดไหลย้อน กระเพราะอักเสบ

อาหารไม่ย่อย, กระเพาะอักเสบ ,ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ,ท้องอืด, goodbody4u, นิชาภา








📌ปราบกรดไหลย้อน กระเพราะอักเสบ

 เพราะกรดไหลย้อนสามารถเกิดขึ้นกับใคร เมื่อไหร่ก็ได้

 ขึ้นอยู่กับกิจวัตรประจำวันของแต่ละคน และการดูแลตัวเองที่เหมาะสม

 หากเป็นแล้วก็ต้องรีบหาทางแก้ไข


 แบบแคปซูล 1 กล่องมี 30 แคปซูล 950 บาท

 แบบน้ำ 1 กล่องมี 6 ขวด 540 บาท


สนใจสั่งซื้อ โทร 062-3264622


สั่งซื้อด่วน! คลิ๊ก https://line.me/R/ti/p/%40goodbody

เครียดลงกระเพาะ

อาหารไม่ย่อย, กระเพาะอักเสบ ,ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ,ท้องอืด, goodbody4u, นิชาภา

"เครียดลงกระเพาะ" โรคใกล้ตัว
.
.
💥 สาเหตุของโรคเครียดลงกระเพาะ
สาเหตุหลักก็คือ "ความเครียดสะสม" เพราะเมื่อเราเครียด ระบบประสาทอัตโนมัติจะกระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งฮอร์โมนอดรีนาลีนในปริมาณที่มากกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา และยังไปกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ จนเกิดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร และทำให้ลำไส้เกิดการหดตัวมากกว่าปกติอีกด้วย ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดทรมานให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

💥 อาการของโรค เครียดลงกระเพาะ
• คลื่นไส้ อาเจียน เสียดหน้าอกหลังทานอาหาร

ปวดบริเวณลิ้นปี่ มักปวดเวลาท้องว่าง อาการปวดจะลดลงหรือหายไป เมื่อได้ทานอาหาร

• มีอาการปวดหลัง หลังทานอาหารไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่กระเพาะอาหารเริ่มย่อยอาหาร

• รู้สึกแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ รู้สึกว่ามีลมในกระเพาะมาก เรอเหม็นเปรี้ยว ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระบวนการย่อยอาหารในกระเพาะแปรปรวน จากการรีบทานอาหาร กลืนอาหารเร็วเกินไป หรือดื่มน้ำมากขณะทานอาหาร

ปวดท้อง หรือ มวนท้อง โดยอาการจะทุเลาลง หรือหายไปเมื่อถ่ายอุจจาระ

• ถ่ายอุจจาระมากกว่าวันละ 3 ครั้ง หรือน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์

• ต้องเบ่งถ่าย กลั้นไม่อยู่ หรือรู้สึกว่าถ่ายไม่สุด

• หากมีอาการปวดท้องรุนแรงจนถึงขั้นหายใจแรงก็ปวดท้อง ถ่ายท้อง อาเจียน หรืออุจาระเป็นเลือดและมีสีดำตลอดเวลา ถือว่าอาการอยู่ในขั้นอันตราย อาจทำให้เกิดอาการกระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกทางเดินอาหารได้

💥 การรักษาโรคเครียดลงกระเพาะ
• ทานอาหารให้ตรงเวลาและครบ 3 มื้อ จะช่วยให้กระเพาะอาหารเคยชินกับการย่อย และปล่อยน้ำย่อยออกมาในปริมาณที่พอดี

• เลิกสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมด รวมถึง ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำอัดลม เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ

• หยุดกินยาแอสไพริน ยาแก้ปวด และยาแก้อักเสบ ที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ เพราะยากลุ่มนี้มีฤทธิ์กระตุ้นให้กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบมากขึ้น ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาบางชนิด ให้สอบถามแพทย์ก่อนใช้ยา

• ออกกำลังกาย ทุกครั้งที่ออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารเอนโดฟินออกมา ทำให้รู้สึกสบายใจ และช่วยลดความวิตกกังวลได้

• ระบายความเครียดออกมาบ้าง การเล่าความเครียดให้ผู้อื่นฟัง หรือจดบันทึกส่วนตัวสามารถช่วยระบายความเครียดได้เป็นอย่างดี

• หากมีความเครียดที่เกิดจากการหมกมุ่นอยู่กับเหตุการณ์ในอดีต หรือเอาแต่คิดถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ให้หมั่นดึงจิตใจให้กลับมาอยู่กับปัจจุบัน มีสติ ยอมรับความจริง และคิดหาทางแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ

• หากิจกรรมคลายเครียด ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย ทำสมาธิ หรืออ่านหนังสือ เป็นต้น หากปฏิบัติกิจกรรมเหล่านี้เป็นประจำ จะช่วยลดความเครียดลงได้ ซึ่งช่วยให้ในระยะยาวยังสามารถรักษาโรคกระเพาะอาหารเนื่องจากความเครียดให้หายขาดได้
.
.
#เครียดลงกระเพาะโรคใกล้ตัว